สถานการณ์ โอมิครอน ทั่วโลก เป็นอย่างไร

สถานการณ์ โอมิครอน ทั่วโลก เป็นอย่างไร ส่อง “สถานการณ์โควิด-19” ทั่วโลก หลังสายพันธุ์ “โอมิครอน” ระบาด ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อทั่วโลกเคยพุ่งสูงกว่าล้านราย ขณะเดียวกัน เดลตา ซึ่งเคยเป็นสายพันธุ์ที่ก่อผลกระทบรุนแรง เหลือเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2565 ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานแถลงข่าว อัพเดทสถานการณ์ COVID-19 ในต่างประเทศและในประเทศไทย โดยระบุว่า ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่า ปัจจุบัน การแบ่งสายพันธุ์ โควิด-19 คือ สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงทั่วโลกเหลือเพียง 2 สายพันธุ์ คือ เดลตา และ โอมิครอน ซึ่งเดลตากำลังถูกถดแทนด้วยโอมิครอน ขณะที่ สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งมีสายพันธุ์ย่อย BA.1-5 และ สายพันธุ์ที่มีจุดกลายพันธุ์ผสม ที่เราจับตา คือ XE เนื่องจากมีแนวโน้มกระจายเร็วกว่า BA.2 10% แต่ความรุนแรงไม่ได้รุนแรงขึ้น หลังจากที่ โอมิครอน ระบาดทั่วโลกโดยมีการประกาศสายพันธุ์โอมิครอนราว วันที่ 24 พ.ย. 64 การติดเชื้อเคยเพิ่มขึ้นสูงต่อวันมากว่าล้านราย ขณะเดียวกัน ล่าสุดสถานการณ์โควิด-19 โอมิครอน […]
วิจัยญี่ปุ่น ฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้นยังมีโอกาสติดโควิด-แพร่เชื้อต่อได้

วิจัยญี่ปุ่น ฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้นยังมีโอกาสติดโควิด-แพร่เชื้อต่อได้ “ดร.อนันต์” เผยงานวิจัยญี่ปุ่น พบผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น ยังมีโอกาสติดเชื้อ-แพร่เชื้อต่อให้คนอื่นๆ ได้ในปริมาณที่ไม่น้อยลงไปกว่าก่อนได้รับวัคซีน วันที่ 20 เมษายน 2565 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ทีมวิจัยที่ญี่ปุ่นได้เก็บข้อมูลปริมาณไวรัสจากตัวอย่าง nasopharyngeal swab ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส BA.1.1 และ BA.2 จำนวน 611 คน โดยทำการเปรียบเทียบปริมาณไวรัสในรูปแบบของ viral load และระดับค่า Ct ที่อ่านได้จากการตรวจด้วย RT-PCR โดยตัวแปรที่ทีมวิจัยใช้เปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง คือ ประวัติการได้รับวัคซีน โดยผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีนมี 199 ตัวอย่าง กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มมี 370 ตัวอย่าง และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่สาม 42 ตัวอย่าง ทีมวิจัยพบว่าปริมาณ Viral load และ Ct ในตัวอย่างผู้ป่วยแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับค่าเฉลี่ยของปริมาณไวรัสทั้ง 2 […]
ศบค.ยกเลิก RT-PCR เข้าประเทศ เริ่ม 1 พ.ค.

ศบค.ยกเลิก RT-PCR เข้าประเทศ เริ่ม 1 พ.ค. เลขาฯ สมช. เผยชง ศบค.พรุ่งนี้ ปรับมาตรการ Test and Go เข้าประเทศเหลือ ATK หรือยกเลิก ATK ไปเลย ลดวันกักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง-ไม่ฉีดวัคซีน เริ่ม 1 พ.ค. Thailand Pass ยังเหนียว วันที่ 21 เมษายน 2565 ทีjทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศปก.ศบค.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ศปก.ศบค. ถึงเรื่องการพิจารณาที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ศบค. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.เป็นประธาน ในวันที่ 22 เมษายน 2565 ว่าเป็นการเสนอเรื่องสืบเนื่องจากการประชุม ศบค.เมื่อครั้งที่ผ่านมา ประกอบการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 […]
สหรัฐฯจับตา โควิดพันธุ์ย่อยใหม่ หลังคลายกฎสวมหน้ากากอนามัย

สหรัฐฯจับตา โควิดพันธุ์ย่อยใหม่ หลังคลายกฎสวมหน้ากากอนามัย “ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ” เฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยใหม่ หลังเริ่มยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยในประเทศ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ เปิดเผยว่าสหรัฐฯ กำลังเผชิญการอุบัติของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อโรคโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ย่อยใหม่ ขณะเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อยบีเอ.2 ยังคงแพร่ระบาดเป็นหลักในประเทศ ศูนย์ฯ ระบุว่าเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อยใหม่ “บีเอ.2.12.1” (BA.2.12.1) ครองสัดส่วนราว 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ในสหรัฐฯ โดยอัตราการติดเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ย่อยนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.4 ในสัปดาห์ก่อน และร้อยละ 6.9 ในสองสัปดาห์ก่อน แม้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ หรือราวร้อยละ 75 ติดเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ย่อยบีเอ.2 ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม แต่สายพันธุ์ย่อยบีเอ.2.12.1 ร่วมกับอีกหนึ่งสายพันธุ์ย่อยอย่างบีเอ.2.12 (BA.2.12) มีส่วนทำให้ยอดผู้ป่วยในรัฐนิวยอร์กพุ่งขึ้นเมื่อไม่นานนี้ สำนักสาธารณสุขรัฐนิวยอร์กเผยว่าเชื้อไวรัสฯ ทั้งสองสายพันธุ์ย่อยข้างต้น จัดเป็นสายพันธุ์ย่อยของบีเอ.2 ซึ่งปัจจุบันครองสัดส่วนร้อยละ 80.6 ของการติดเชื้อในนิวยอร์ก โดยคาดว่าทั้งสองสายพันธุ์ย่อยนี้จะแพร่ระบาดมากกว่าสายพันธุ์บีเอ.2 ราวร้อยละ 23-27 […]
ฟ้าทะลายโจร ป้องกัน โควิด ได้จริงหรือไม่

ฟ้าทะลายโจร ป้องกัน โควิด ได้จริงหรือไม่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เผย กิน “ฟ้าทะลายโจร” 3 แคปซูลก่อนออกจากบ้าน ช่วยป้องกันโควิด 12 ชม. เป็นข้อมูลเท็จ ด้าน กรมการแพทย์แผนไทยฯ ระบุ ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกิน “ฟ้าทะลายโจร” 3 แคปซูล ก่อนออกจากบ้าน สามารถป้องกันเชื้อโควิด 19 ได้ 12 ชม. ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดย เพจ Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า จากกรณีที่มีการลงคลิปบอกต่อคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการป้องกันเชื้อโควิด 19 ในสื่อออนไลน์ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อมูลใดที่ยืนยันว่ากิน “ฟ้าทะลายโจร” 3 แคปซูลก่อนออกจากบ้านจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งยา “ฟ้าทะลายโจร” ไม่สามารถป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ได้ “ฟ้าทะลายโจร” ช่วยบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรง มักจะใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรครุนแรง เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ลดโอกาสที่โรคจะลุกลามลงปอด ดังนั้นการรับประทาน “ฟ้าทะลายโจร” วันละ 3 แคปซูล สามารถป้องกันเชื้อโควิด 19 ได้ […]
โควิด โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ข้อมูลอะไรคือสิ่งที่เรารู้

โควิด โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ข้อมูลอะไรคือสิ่งที่เรารู้ หลังองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเปิดเผยว่า ได้ค้นพบและกำลังเฝ้าติดตามการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอมิครอน ที่เรียกว่า BA.4 และ BA.5 ในประเทศแอฟริกาใต้ และหลายๆ ประเทศในทวีปยุโรป ปัจจุบัน เรา มีข้อมูลเกี่ยวกับ ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้อย่างไรกันแล้วบ้าง โอมิครอนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 : ตามรายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ปัจจุบันพบว่า มีการค้นพบสายพันธุ์ BA.4 ระหว่างวันที่ 10 ม.ค.-30 มี.ค. 2022 โดยสิ้นสุดวันที่ 8 เมษายน พบผู้ติดเชื้อ BA.4 แล้ว ในประเทศแอฟริกาใต้ 41 คน ประเทศบอตสวานา 2 คน เดนมาร์ก 3 คน อังกฤษ และสกอตแลนด์ ประเทศละ 1 […]
เผยข่าวดีโควิด Omicron ขาลงชัดเจนแล้ว

เผยข่าวดีโควิด Omicron ขาลงชัดเจนแล้ว “อ.เจษฎ์” กางข้อมูล เผยข่าวดีประเทศไทย “โควิด” Omicron ขาลงชัดเจนแล้ว พีคอีกระลอกปลาย เม.ย. ทำใจยอดตาย-ปอดอักเสบ สูง ก่อนลง ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ “อ.เจษฎ์” อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ อัปเดตสถานการณ์ “โควิด” ระบุว่า “อัปเดตสถานการณ์โควิด – เป็นช่วงขาลงแล้วครับ” วันสงกรานต์ผ่านไปแล้ว เลยขอมาอัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงการระบาดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” Omicron ตั้งแต่ต้นปีนี้มา อีกครั้ง ข่าวดีคือ การระบาดของโควิดเป็น “ขาลง” ชัดเจนแล้ว “อ.เจษฎ์” ระบุว่า เมื่อดูจากกราฟของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่รายวัน (รูปซ้าย เส้นสีน้ำเงิน) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย 7 วันย้อนหลังของผลรวมระหว่างจำนวนผู้ติดเชื้อ ที่ตรวจด้วยวิธี PCR และด้วยวิธี ATK จะเห็นว่า หลังจากการระบาดไม่มากของสายพันธุ์ Delta หลังฉลองปีใหม่ ก็เกิดการระบาดของ Omicron ที่พุ่งขึ้นสูงตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ไปถึงจุดพีคสุดต้นเดือนมีนาคม แล้วลดลง ก่อนจะพีคขึ้นไปอีกครั้งในช่วงปลายเดือนมีนาคม (คาดว่าเป็นผลจากการระบาดซ้อน ของ Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2 เข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อย BA.1 เดิม) และพีคอีกครั้งเล็ก ๆ […]
โควิด หลังสงกรานต์โคม่า ส่อพุ่ง 30%

โควิด หลังสงกรานต์โคม่า ส่อพุ่ง 30% ถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการระบาดเมื่อปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของไวรัสหลายระลอก ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 3.88 ล้านราย เสียชีวิตสะสม 2.6 หมื่นราย คลื่นไวรัสลูกใหญ่ เริ่มต้นในเดือนมกราคม 2565 ด้วยสายพันธุ์โอมิครอน เฉพาะระลอกนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อแล้ว 1.66 ล้านราย เสียชีวิต 4,385 ราย ทั้งยังมีการติดเชื้อรายใหม่ในตัวเลขที่พุ่งสูงวันละ 4-5 หมื่นราย อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเสียชีวิตค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นตามมาติดๆ จากหลักสิบเป็นหลักร้อยรายต่อวัน พร้อมทั้งยังมีสายพันธุ์ลูกผสม หรือไฮบริด “XE” ที่แน่ชัดแล้วว่าแพร่เชื้อได้เร็วขึ้นจริง แต่ยังไร้หลักฐานความดุดัน ประเทศไทยผ่านบททดสอบปีใหม่ ตรุษจีน ได้อย่างปลอดภัย อัตราการเสียชีวิตไม่พุ่งสูงตามตัวเลขติดเชื้อใหม่ ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33 ของประชากรที่ได้รับครบ 2 เข็ม ขณะนี้มาถึงเทศกาลสงกรานต์ ปีนี้ต่างจากปีที่แล้วอย่างมากเพราะศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) เปิดไฟเขียวให้เดินทางข้ามจังหวัด เพื่อให้ชาวไทยได้กลับบ้าน พบปะกันในครอบครัวได้ […]
ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เหมาะกับใคร รักษาโควิดอย่างไรได้บ้าง

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เหมาะกับใคร รักษาโควิดอย่างไรได้บ้าง ปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ซึ่งแต่ละชนิดจะใช้รักษาอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต่างกันไป โดย 3 ชนิดแรก มีการนำมาใช้รักษาในไทยแล้ว และล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่งได้รับมอบยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) จำนวน 50,000 คอร์สการรักษาจากบริษัทไฟเซอร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณสมบัติยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เหมาะกับการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการแบบใด และมีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง ไทยรัฐออนไลน์รวบรวมมาให้ดังนี้ ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เหมาะกับใคร ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง สามารถลดความเสี่ยงการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ถึง 88% โดยผู้ป่วยโควิด-19 ที่เหมาะกับยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) คือ ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน […]
ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านช่วง โควิด-19 ระบาดหนัก?

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านช่วง โควิด-19 ระบาดหนัก? เปิดลิสต์ “ยาสามัญประจำบ้าน” ต้องมีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า หากติดเชื้อ “โควิด-19” ควรกินยาตัวไหนเพื่อประคองอาการในเบื้องต้น และหลังจากเข้าระบบการรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาตัวไหนเพิ่มเติมให้อีกบ้าง? การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย ยังอยู่ในระดับน่ากังวล เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเตรียม “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ใช้ “รักษาอาการโควิด-19” เบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่าจะเสี่ยงติดเชื้อเมื่อใด ชวนรู้จัก “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการโควิด-19 ที่ควรมีติดบ้านไว้ และหากติดเชื้อโควิดและติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าระบบการรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาตัวไหนให้ผู้ป่วยเพิ่มเติมบ้าง? 1. ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีไว้เพื่อรักษา โควิด-19 ในเมื่อตอนนี้ใครๆ ก็สามารถติดโควิด-19 ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโควิดโอมิครอนมีการกลายพันธุ์เพิ่มอีก และยิ่งแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเดิม ดังนั้นทุกคนต้องรู้เท่าทันข่าวสารและเตรียมพร้อมไว้เสมอ โดยเฉพาะการเตรียม “ยาสามัญประจำบ้าน” และ “อุปกรณ์เช็กอาการป่วย” ที่ต้องมีติดบ้านไว้ ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้านช่วงโควิด-19 ยาประจำตัว หากใครมีโรคประจำตัวช่วงนี้ควรวางแผนในการสำรองยาให้สามารถรับประทานได้ระยะยาว 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ ยาพาราเซตามอล ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้เมื่อมีไข้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากอาการโควิด-19 มักทำให้มีไข้สูง และเกิดอาการต่างๆ […]