ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค CHEMGENE HLD4H น้ำยาหัวเชื้อสูตรเข้มข้นพิเศษ กำจัดฆ่าเชื้อโควิด-19, Covid-19, Coronavirus, SARS-CoV-2, Omicron, โอมิครอน ตายภายใน 1 นาที 99.85% ปกป้องยาวนานถึง 14 วัน

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านช่วง โควิด-19 ระบาดหนัก?

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านช่วง โควิด-19 ระบาดหนัก?

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านช่วง โควิด-19 ระบาดหนัก? เปิดลิสต์ “ยาสามัญประจำบ้าน” ต้องมีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า หากติดเชื้อ “โควิด-19” ควรกินยาตัวไหนเพื่อประคองอาการในเบื้องต้น และหลังจากเข้าระบบการรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาตัวไหนเพิ่มเติมให้อีกบ้าง? การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย ยังอยู่ในระดับน่ากังวล เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเตรียม “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ใช้ “รักษาอาการโควิด-19” เบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่าจะเสี่ยงติดเชื้อเมื่อใด ชวนรู้จัก “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการโควิด-19 ที่ควรมีติดบ้านไว้ และหากติดเชื้อโควิดและติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าระบบการรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาตัวไหนให้ผู้ป่วยเพิ่มเติมบ้าง? 1. ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีไว้เพื่อรักษา โควิด-19 ในเมื่อตอนนี้ใครๆ ก็สามารถติดโควิด-19 ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโควิดโอมิครอนมีการกลายพันธุ์เพิ่มอีก และยิ่งแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเดิม ดังนั้นทุกคนต้องรู้เท่าทันข่าวสารและเตรียมพร้อมไว้เสมอ โดยเฉพาะการเตรียม “ยาสามัญประจำบ้าน” และ “อุปกรณ์เช็กอาการป่วย” ที่ต้องมีติดบ้านไว้ ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้านช่วงโควิด-19 ยาประจำตัว หากใครมีโรคประจำตัวช่วงนี้ควรวางแผนในการสำรองยาให้สามารถรับประทานได้ระยะยาว 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ ยาพาราเซตามอล ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้เมื่อมีไข้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากอาการโควิด-19 มักทำให้มีไข้สูง และเกิดอาการต่างๆ […]

“เฟาซี” ชี้โควิด สายพันธุ์ย่อย BA.2 มหันตภัยจู่โจมคนไม่ใส่แมส

“เฟาซี” ชี้โควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2 มหันตภัยจู่โจมคนไม่ใส่แมส

“เฟาซี” ชี้โควิด สายพันธุ์ย่อย BA.2 มหันตภัยจู่โจมคนไม่ใส่แมส “แอนโทนี เฟาซี” เผย สหรัฐติดตามแนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร พบว่ายอดผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นมาก จากการติดเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี  ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวว่า แม้ผู้ป่วยโควิด-19 จะยังคงมีแนวโน้มลดลงทั่วทั้งสหรัฐ แต่บางรัฐก็กำลังเพิ่มขึ้น “ผมคิดว่า ยอดผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้น ถ้าคนเดินทางไปมาโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย” เฟาซีกล่าวและระบุว่า แม้แต่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วก็ติดโควิด-19 อย่างแน่นอน ในการสร้างแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า การรณงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยหนักไว้ได้ 2 ล้านคน และป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 17 ล้านครั้ง   นายแพทย์เฟาซีกล่าวด้วยว่า คนอเมริกันอาจต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครั้งที่สองในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในที่สุดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการฉีดทุกปี เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่มา : bangkokbiznews.com เกาะติดข่าวที่นี่Website : www.chemgenehld4h.comFacebook : enrichfoggerLine : @enrichfoggerYoutube official : Enrichfogger Official AccountTiktok : @enrichfog

ติดโควิดซ้ำ สายพันธุ์โอมิครอน อันตรายแค่ไหน

ติดโควิดซ้ำ สายพันธุ์โอมิครอน อันตรายแค่ไหน

ติดโควิดซ้ำ สายพันธุ์โอมิครอน อันตรายแค่ไหน การติดเชื้อโควิด-19ซ้ำอีกรอบ หลังจากเคยป่วยมาแล้ว คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่องท่ามการระบาดของ “โอมิครอน” วันที่ 7 เมษายน 2565 ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายจากอาการป่วยทุกคนมีสิทธิได้รับเชื้ออีกครั้ง หากไม่ดูแลป้องกันตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด แต่การติดเชื้อซ้ำอีกรอบจะแตกต่างจากครั้งแรก โดยมีปัจจัยในส่วนของสายพันธุ์ และการเว้นระยะห่างของการติดเชื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง ติดโควิดซ้ำ เกิดจากอะไร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คลิปอธิบายเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก อีกทั้งยังเน้นย้ำว่า การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้สูง ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การติดเชื้อซ้ำของ COVID 19 พบได้เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เมื่อเชื้อโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด และติดง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อซ้ำจึงมากขึ้นอีก การติดเชื้อโควิด 19 […]

สงกรานต์2565 ป้องกันโควิด19 ชะลอระบาด

สงกรานต์2565 ป้องกันโควิด19 ชะลอระบาด

สงกรานต์2565 ป้องกันโควิด19 ชะลอระบาด แม้ศบค.จะผ่อนคลายมาตรการให้สามารถจัดงานสงกรานต์2565 ก็เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า “การเตือนภัยโควิด19ยังอยู่ในระดับ4” เกือบสูงสุด การใช้ชีวิตช่วงนี้จึงมิอาจชะล่าใจ จะต้องร่วมมือเต็มที่ในการ ป้องกันโควิด19 ช่วยชะลอระบาด ให้ระบบสาธารณสุขรองรับไหว โควิดสายพันธุ์โอมิครอนก่อโรครุนแรงน้อยในคนทั่วไป แต่แพร่ได้เร็ว จึงมีโอกาสสูงด้วยที่เชื้อจะไปติด”กลุ่มเปราะบาง”ที่เสี่ยง หากรับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง คือ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งกว่า 90%ของผู้เสียชีวิตคือกลุ่มนี้ ขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้สูงอายุไม่ถึง 40 % ถือว่ายังน้อยมาก!! และในจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันที่รายงานวันละกว่า 20,000 รายนั้น เป็นผู้สูงอายุราว 10 % นั่นแปลว่ามีผู้สูงอายุที่เสี่ยงจะอาการรุนแรงติดเชื้อวันละกว่า 2,000 ราย นับว่าไม่น้อย!! การใช้ชีวิตช่วง สงกรานต์2565 จึงต้องอยู่บนความเข้าใจอย่างสมดุลระหว่างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการป้องกันโควิด19 หากอิงตามคำแนะนำในการเตือนภัยโควิด19 ระดับ 4 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ช่วงสงกรานต์นี้ ควรที่จะ “งดไปสถานที่เสี่ยง งดการรวมกลุ่มสังสรรค์ เน้นทำงานที่บ้าน และชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ถ้าไม่จำเป็น” แต่สำหรับผู้ที่มีแผนเดินทางกลับภูมิลำเนาและเยี่ยมพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ควรที่จะ self […]

อาการลองโควิดคืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด อันตรายแค่ไหน

อาการลองโควิดคืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด

อาการ ลองโควิด คืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด อันตรายแค่ไหน อาการ ลองโควิด คืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด อันตรายแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลลักษณะอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้น อาการลองโควิดคือ เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจในโลกโซเชียลเสมอ หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะเมื่อเกิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)ที่มีการติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ดำเนินการสืบค้นข้อมูลเรื่องดังกล่าว เพื่อไขคำตอบ พบว่า ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) คือ ผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีอยู่หลากหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น Long COVID-19 (ลองโควิด) ,Post-COVID condition ,Long-haul COVID ,post-acute COVID-19, post-COVID-19 syndrome หรือ chronic COVID มีลักษณะคือมีอาการผิดปกติยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ ทั้ง ๆ ที่ตามปกติแล้วเชื้อโควิด-19 นั้นมักจะหายไปในไม่กี่สัปดาห์หลังการติดเชื้อ หากเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 […]

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร นอกจากคำเรียกชื่อสายพันธ์ุของเชื้อโควิด-19 ที่เราเคยเห็นเรียกกันตามชื่อประเทศที่พบสายพันธุ์นั้นๆ ครั้งแรกแล้ว เรายังมีการเรียกชื่อสายพันธุ์ว่าอัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า อีกด้วย โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อในการเรียกสายพันธุ์โควิด-19 จากชื่อประเทศที่พบเชื้อโควิดครั้งแรก เป็นระบบตัวอักษรภาษากรีก เช่น อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า เพื่อลดการตีตราประเทศนั้นๆ โดยมีการบัญญัติชื่อเรียกสายพันธุ์โควิดใหม่ สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) คือ สายพันธุ์อัลฟ่า (A)สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) คือ สายพันธุ์เบต้า (B)สายพันธุ์บราซิล (P.1) คือ สายพันธุ์แกมมา (Γ)สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) คือ สายพันธุ์เดลต้า (Δ)รวมไปสายพันธุ์อื่นๆ ที่เริ่มเป็นที่จับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ก็เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อด้วยเช่นกัน ดังนี้สายพันธุ์สหรัฐฯ (B.1.427/429) คือ สายพันธุ์เอปไซลอน (Ε)สายพันธุ์บราซิล (P.2) คือ สายพันธุ์ซีตา (Z)สายพันธุ์ที่พบในหลายประเทศ […]

ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne)

ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ Airborne

ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) 7 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ของ CDC ได้เผยแพร่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Brief) เรื่องการแพร่กระจายของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยระบุว่า ช่องทางการแพร่เชื้อในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง คือ การหายใจเอาไวรัสเข้าไป การสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปากโดยตรง และการสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปาก ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส  สารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Respiratory Fluids) ถูกปล่อยออกมาระหว่างหายใจออก เช่น การหายใจตามปกติ การพูด การร้องเพลง การออกกำลังกาย การไอหรือจาม เป็นละอองขนาดเล็ก-ใหญ่แตกต่างกัน และละอองเหล่านี้เป็นตัวพาไวรัสไปติดเชื้อให้กับผู้อื่น แต่จะสามารถแพร่ไปได้ไกลเท่าไรขึ้นกับขนาดของละอองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น โดยสรุป CDC ยืนยันว่าโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร แต่ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบนี้คือ กิจกรรมที่เพิ่มละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ + สถานที่ปิด + […]